สำนักกฎหมาย ชมทรรศน์ สมบุตร | |||||||||||||||||||||||||||||||
CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE | |||||||||||||||||||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจ เบอร์โทรศัพท์ศาลในกรุงเทพฯ เบอร์โทรศัพท์สำนักงานเขต เบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิง เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ
|
พระราชบัญญัติอาหาร
บทกำหนดโทษ
มาตรา 47 ผูู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(4)(5) หรือ (9) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 48 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(6) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(7) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(8) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(10) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
มาตรา 52 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา 13 หรือขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 53 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 54 ผู้ใดผลิตหรือนําเข้าซึ่งอาหารเฉพาะคราวโดยมิได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16(1) หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 16 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 55 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 หรือมาตรา 21 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 56 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 22 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 57 ผู้รับอนุญาตผู้ใดนําอาหารควบคุมเฉพาะที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งออกไปจําหน่ายนอกราชอาณาจักรมาจําหน่ายในราชอาณาจักร อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
มาตรา 58 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25(1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 60 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25(3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา 61 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25(4) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 63 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา 30(2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว
มาตรา 64 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 65 ผู้ใดจําหน่ายอาหารควบคุมเฉพาะที่มิได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 66 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 34 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 67 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 68 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว
มาตรา 69 ผู้ใดผลิต นําเข้าเพื่อจําหน่าย หรือจําหน่าย อาหารที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับอาหารตามมาตรา 39ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 70 ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืนมาตรา 40 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 71 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 73 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 48 มาตรา 50 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 มาตรา 61 หรือมาตรา 69 เป็นการกระทําความผิดโดยจําหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ผู้กระทําความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ถ้าผู้นั้นกระทําความผิดอีกภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้กระทําความผิดครั้งก่อน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 74 ผู้รับอนุญาตผู้ใดผลิตหรือนําเข้าซึ่งอาหารภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยมิได้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ
มาตรา 75 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มีโทษปรับสถานเดียว ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบปรับได้
ในปัจจุบัน ใบอนุญาตในการดำเนินการทางธุรกิจต่างๆนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้นๆว่าอยู่ในรูปแบบใด ดังนั้น การดำเนินการขอใบอนุญาตจะต้องขอตามประเภทที่ทางองค์การอาหารและยาเป็นผู้กำหนดให้ โดยมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามแต่ละหมวด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา 2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร 3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอาง 4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์ 5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||
Copyright 2009 © สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร ที่อยู่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น 49 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500 โทร. 02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 Fax. 0-2236-5721 E-mail:toebkk@hotmail.com |
|||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
ทนายความชมทรรศน์ สมบุตร ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีแพ่ง คดีอาญา ทนายที่ปรึกษาประจำ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ ทนายฟรี เครื่องหมายการค้า ทนายความฟรี จดทะเบียนพาณิชย์ คดีแพ่ง ทนาย จดทะเบียนการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอคืนภาษี โดนเรียกภาษีย้อนหลัง ขอภาษีคืน ขอลดค่าปรับภาษี อุทธรณ์ภาษี ปรึกษาปัญหาภาษีอากร จดทะเบียนอาหารและยา (อย.) รับขอ อย. อาหาร รับขอ อย. เครื่องสำอาง ที่ปรึกษากฎหมายอาหารและยา จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แก้ไข เปลี่ยนแปลง ย้ายที่อยู่บริษัท เพิ่มทุน ลดทุน กฎหมายที่ดิน เวนคืน จัดการมรดก ขับไล่ เร่งรัดหนี้สิน ทวงหนี้ สืบทรัพย์ บังคับคดี ร่างสัญญา รับร่างพินัยกรรมและจัดการเก็บรักษาพินัยกรรม ขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องสำอาง กฎหมายเครื่องมือแพทย์ รับขอ อย. วัตถุอันตราย ฉลากสินค้า สำนักทนายความ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ขออนุญาตจับรางวัล ขออนุญาตจับรางวัลชิงโชค จับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลเสี่ยงโชค ขอใบอนุญาตจัดรางวัลเสี่ยงโชค เครื่องหมายบริการ จดทะเบียนร้านค้าเพื่อเปิดร้านอินเตอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนอาหารเสริม ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ นำเข้าเครื่องมือแพทย์ รับจด อย.
|