s
Header image
CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE
ยินดีต้อนรับ สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร โทร.  02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 E-mail: toebkk@hotmail.com☻☻ สำนักงานฯ พร้อมให้บริการท่านตลอด 24 ชั่วโมง และยินดีแก้ปัญหาให้ท่านทันทีที่เกิดเหตุการณ์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ี่ คุณชมทรรศน์ โทร.086-5589695 ☻☻☻☻

 

 

 





 

 

 

 

เบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจ
ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

เบอร์โทรศัพท์ศาลในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล

เบอร์โทรศัพท์สรรพากรพื้นที่
กรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สำนักงานเขต
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิง
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 

 

 


 




                                           บังคับคดี บังคับคดีต้องทำอย่างไร


ความสำคัญและความจำเป็นในการบังคับคดีตามคำสั่งหรือคำพิพากษา

 

ขั้นตอนบังคับคดีแพ่ง คดีแพ่งคืออะไรท่านอาจยังไม่เข้าใจมากนัก

คดีแพ่ง คือคดีที่เรียกร้องหรือใช้สิทธิฯ เรียกสินไหมทดแทน หรือคดีไม่มีข้อพิพาท หรือ กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิทางศาลฯ, โจทก์,จำเลย,ผู้ร้อง ที่เข้ามาในคดีในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้น) หรือคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ศาลชั้นต้นหมายถึง ศาลแพ่ง, ศาลจังหวัด, ศาลแขวงและศาลชำนัญการพิเศษได้แก่ ศาลล้มละลาย,ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าต่างประเทศ,ศาลภาษีอากร,ศาลแรงงานและศาลเยาวชนและครอบครัวฯ 

วิธีการบังคับคดีตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลในคดีแพ่ง บังคับคดี

  1. เมื่อศาลมีคำพิพากษา ไม่ว่า จะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลฎีกา หมายความว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือ ฎีกา ก็หมายความว่า คดีถึงที่สุด (อายุความบังคับคดี 10 ปีนับแต่ศาลมีคำพิพากษา)
  2. เมื่อคดีถึงที่สุด คู่ความที่ชนะคดีก็ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา เช่น ศาลสั่งให้โจทก์ ชนะคดีในคดีละเมิดเรียกสินไหมทดแทน โจทก์ก็ต้องส่งคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 30 วันหรือ 45 วัน ในกรณีรับหมายบังคับคดีก็จะใช้ระยะเวลา 30 วันนับแต่วันปิดหมายคำบังคับ หรือ ถ้าปิดหมายคำบังคับ จะเพิ่มอีก 15 วันรวมเป็น 45 วัน จะถือว่าชอบด้วยกฎหมาย ถ้าจำเลยทราบคำบังคับแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ ก็ต้องดำเนินการ ขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคดีเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษา
  3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่ส่งคำบังคับ จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทันที
    - ค่านำหมายคำบังคับ ประมาณ 450 บาท ต่อคน แล้วแต่ว่าภูมิลำเนาของจำเลยอยู่ที่ไหน
    - ค่าธรรมเนียมตั้งเรื่องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ ในกรณียึดอสังหาริมทรัพย์ 2,500 บาท (บ้านหรือที่ดิน) ได้รับคืนเมื่อบังคับหนี้ได้ครบตามจำนวน หรือมีการถอนการยึดทรัพย์ฯ

กรณียึดสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์สินในบ้าน,รถยนต์) 1,000 บาท ได้รับคืนเมื่อบังคับหนี้ได้ครบตามจำนวน หรือมีการถอนการยึดทรัพย์ฯ

กรณีอายัดทรัพย์ (เงินเดือนค่าจ้าง,เงินได้จากการทำงานอื่น ,บัญชีเงินฝาก1,500 บาท ได้รับคืนเมื่อบังคับหนี้ได้ครบตามจำนวน หรือมีการถอนการอายัดทรัพย์

หมายเหต อาจไม่ได้รับคืนทั้งหมดเพราะขึ้นอยู่กับ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าพนักงานดำเนินการไปแล้วและอาจมีการวางเงินเพิ่มแล้วแต่ความยากง่ายของการดำเนินการฯ

 

ขั้นตอนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดี


  1. เมื่อจำเลยทราบคำพิพากษาแล้วและโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์หรือฝ่ายที่ชนะคดีก็ต้องดำเนินการสืบหาทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้เพื่อยึดหรืออายัดและเจ้าพนกงานนำออกขายทอดตลาดต่อไป เงินที่ได้จากการขายแล้วนำมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์
  2. ในกรณีโจทก์เป็นธนาคารฯ การดำเนินการขั้นตอนจะไม่ยุ่งยากนักเพราะโดยส่วนมาก ลูกหนี้จะเป็นการนำทรัพย์มาจำนองไว้กับธนาคารฯ ขั้นตอนการทำงานก็จะลดลงโดยไม่ต้องสืบหาทรัพย์อื่นอีกนอกจากในกรณีที่ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้
  3. ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดาก็จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น เช่น คดีละเมิดเรียกสินไหมทดแทนฯ ศาลมีคำพิพากษาแล้วให้ผู้แพ้คดีรับผิดชอบ ตามที่ฝ่ายนที่ชนะร้องขอต่อศาล และไม่มีการอุทธรณ์ หรือฎีกา ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ก็จะต้องดำเนินการตามขึ้นตอนข้างต้นที่ได้สรุปพอสังเขป
  4. เมื่อเจอทรัพย์ของลูกหนี้ที่พอจะยึดหรือายัดได้ และคุ้มหนี้ ตามคำพิพากษา ก็ดำเนินการได้ทันที โดยแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว ล้วนมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น โดยประมาณเรื่องละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท

 

กรณีสืบทรัพย์แล้วพบว่ามีทรัพย์แล้วยึดฯ หรือ อายัดฯ

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษาตกลงกันได้ หมายความว่า ชำระหนี้ภายนอกเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดฯ หรือ อายัดฯ ได้เงินครบถ้วนแล้วตามคำพิพากษา ก็ต้องดำเนินการถอนยึดฯ หรืออายัดฯ โดยค่าใช้จ่ายในการถอนทั้งหมด ลูกหนี้หรือจำเลยต้องเป็นผู้ชำระ

ค่าธรรมเนียมในการถอนยึดทรัพย์ คือ ร้อยละ 3.5 ของยอดหนี้ตามคำพิพากษาฯ หรือยอดราคาประเมินของเจ้าพนักงานฯ แล้วแต่ยอดไหนต่ำกว่า ให้ใช้ยอดนั้น (คดีก่อนปี 2548) กรณีหลังปี 2548 จะใช้ร้อยละ 2 ของยอดข้างต้น

 

BACK

 

 

บังคับคดีสำคัญอย่างไร ทรัพย์อะไรสามารถบังคับคดีได้บ้าง

บังคับคดีเป็นกระบวนการสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อนำผลของคำพิพากษาไปปฎิบัติ คือดำเนินการเพื่อให้เกิดผลแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของศาลและหมายบังคับคดี เช่นกรณีศาลสั่งให้ชำระหรือชดใช้เงิน แต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระ หรือชำระไม่ครบถ้วน สำนักงานกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร  พร้อมดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมายให้แก่ท่าน  โดยดำเนินการยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์สิน ได้เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หุ้น หน่วยลงทุน พันธบัตร ใบสำคัญ ห้องชุด สิทธิการเช่าทุกชนิด  เช่นสิทธิการเช่าอาคาร สิทธิการเช่าอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินราชพัสดุ ฯลฯ สิทธิการไถ่คืน 

 สำนักงานพร้อมดำเนินการบังคับคดีให้ท่าน  สามารถติดต่อได้ที่   02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อท่านตกเป็นจำเลยโดนยึดทรัพย์ บังคับคดี ต้องทำยังไง

เมื่อท่านตกเป็นจำเลยในคดี  ต่อมาโดนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำเจ้าพนักงาน ยึดอสังหาริมทรัพย์ เช่นบ้าน ทาวเฮ้าส์ที่ท่านอยู่  ทำให้ท่านเดือดร้อน  กระทบต่อที่อยู่อาศัย  ติดต่อเรา   02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 เพื่อจะพิจารณาข้อกฎหมายและทางออกที่ดีที่สุดให้แก่ท่านได้เลือกอย่างเหมาะสม

 


 

มีเรื่องด่วนหลังเวลาทำการของ
สำนักงาน (08.30-17.30 น.)
กรุณาติดต่อโดยตรงที่คุณชมทรรศน์
โทร.086-5589695

 


 

 

 
             
   
Copyright 2009 © สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร
ที่อยู่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น 49 ถนนสีลม  แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
โทร.   02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695  Fax. 0-2236-5721
E-mail:toebkk@hotmail.com



ทนายความชมทรรศน์ สมบุตร ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีแพ่ง คดีอาญา ทนายที่ปรึกษาประจำ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ ทนายฟรี เครื่องหมายการค้า ทนายความฟรี จดทะเบียนพาณิชย์ คดีแพ่ง ทนาย จดทะเบียนการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอคืนภาษี โดนเรียกภาษีย้อนหลัง ขอภาษีคืน ขอลดค่าปรับภาษี อุทธรณ์ภาษี ปรึกษาปัญหาภาษีอากร จดทะเบียนอาหารและยา (อย.) รับขอ อย. อาหาร รับขอ อย. เครื่องสำอาง ที่ปรึกษากฎหมายอาหารและยา จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แก้ไข เปลี่ยนแปลง ย้ายที่อยู่บริษัท เพิ่มทุน ลดทุน กฎหมายที่ดิน เวนคืน จัดการมรดก ขับไล่ เร่งรัดหนี้สิน ทวงหนี้ สืบทรัพย์ บังคับคดี ร่างสัญญา รับร่างพินัยกรรมและจัดการเก็บรักษาพินัยกรรม ขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องสำอาง กฎหมายเครื่องมือแพทย์ รับขอ อย. วัตถุอันตราย ฉลากสินค้า สำนักทนายความ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ขออนุญาตจับรางวัล ขออนุญาตจับรางวัลชิงโชค จับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลเสี่ยงโชค ขอใบอนุญาตจัดรางวัลเสี่ยงโชค เครื่องหมายบริการ จดทะเบียนร้านค้าเพื่อเปิดร้านอินเตอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนอาหารเสริม ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ นำเข้าเครื่องมือแพทย์ รับจด อย.