s
Header image
CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE
ยินดีต้อนรับ สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร โทร. 02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 E-mail: toebkk@hotmail.com☻☻ สำนักงานฯ พร้อมให้บริการท่านตลอด 24 ชั่วโมง และยินดีแก้ปัญหาให้ท่านทันทีที่เกิดเหตุการณ์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ี่ คุณชมทรรศน์ โทร.086-5589695 ☻☻ ☻☻

 

 

 





 

 

 

 

เบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจ
ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 

เบอร์โทรศัพท์ศาลในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล

เบอร์โทรศัพท์สรรพากรพื้นที่
กรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สำนักงานเขต
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิง
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 

 

 


 

 


แบบของพินัยกรรม

 

 

พินัยกรรม ตามพระราชบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะ 3
(มาตรา 1646) คือ การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนหรือในการต่างๆ
โดยแบบของพินัยกรรมนั้นได้จัดออกเป็น 5 แบบ มีดังนี้

 

1. พินัยกรรมแบบธรรมดา (มาตรา 1656)
            - ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม
            - ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
            - พยานทั้งสองคนนั้น ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น
            การขูดลบ ตก เติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมต้องปฏิบัติตามแบบข้างต้นจึงจะสมบูรณ์

 

2. พินัยกรรมแบบเขียนเอง (มาตรา 1657)
            - ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน
            การขูดลบ ตก เติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมต้องทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้จึงจะสมบูรณ์

 

3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง (มาตรา 1658)
            - ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนต่อกรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
            - กรมการอำเภอต้องจดข้อความดังกล่าวไว้และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
            - เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นถูกต้องให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
            - กรมการอำเภอต้องลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องตามลำดับข้างต้นและประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ
            การขูดลบ ตก เติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้จึงจะสมบูรณ์

 

4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ (มาตรา 1660)
            - ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
            - ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
            - ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนพินัยกรรมด้วย
            - เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวันเดือนปีที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
            การขูดลบ ตก เติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้ทำต้องลงลายมือกำกับไว้จึงจะสมบูรณ์

 

5. พินัยกรรมแบบด้วยวาจา (มาตรา 1663)
            - เมื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ผู้นั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ โดยต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
            - พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น รวมทั้งแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย
            - กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานทั้งสองคนต้องลงลายมือชื่อไว้ด้วย

 


 

 

BACK

 

 


 


 

มีเรื่องด่วนหลังเวลาทำการของ
สำนักงาน (08.30-17.30 น.)
กรุณาติดต่อโดยตรงที่คุณชมทรรศน์
โทร.086-5589695

 


 

 

 
             
   
Copyright 2009 © สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร
ที่อยู่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น 49 ถนนสีลม  แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
โทร.   02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 Fax. 0-2236-5721
E-mail:toebkk@hotmail.com



ทนายความชมทรรศน์ สมบุตร ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีแพ่ง คดีอาญา ทนายที่ปรึกษาประจำ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ ทนายฟรี เครื่องหมายการค้า ทนายความฟรี จดทะเบียนพาณิชย์ คดีแพ่ง ทนาย จดทะเบียนการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอคืนภาษี โดนเรียกภาษีย้อนหลัง ขอภาษีคืน ขอลดค่าปรับภาษี อุทธรณ์ภาษี ปรึกษาปัญหาภาษีอากร จดทะเบียนอาหารและยา (อย.) รับขอ อย. อาหาร รับขอ อย. เครื่องสำอาง ที่ปรึกษากฎหมายอาหารและยา จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แก้ไข เปลี่ยนแปลง ย้ายที่อยู่บริษัท เพิ่มทุน ลดทุน กฎหมายที่ดิน เวนคืน จัดการมรดก ขับไล่ เร่งรัดหนี้สิน ทวงหนี้ สืบทรัพย์ บังคับคดี ร่างสัญญา รับร่างพินัยกรรมและจัดการเก็บรักษาพินัยกรรม ขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องสำอาง กฎหมายเครื่องมือแพทย์ รับขอ อย. วัตถุอันตราย ฉลากสินค้า สำนักทนายความ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ขออนุญาตจับรางวัล ขออนุญาตจับรางวัลชิงโชค จับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลเสี่ยงโชค ขอใบอนุญาตจัดรางวัลเสี่ยงโชค เครื่องหมายบริการ จดทะเบียนร้านค้าเพื่อเปิดร้านอินเตอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนอาหารเสริม ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ นำเข้าเครื่องมือแพทย์ รับจด อย.