s
Header image
CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE
ยินดีต้อนรับ สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร โทร.  02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695 E-mail: toebkk@hotmail.com☻☻ สำนักงานฯ พร้อมให้บริการท่านตลอด 24 ชั่วโมง และยินดีแก้ปัญหาให้ท่านทันทีที่เกิดเหตุการณ์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ี่ คุณชมทรรศน์ โทร.086-5589695 ☻☻☻☻

 

 

 





 

 

 

 

เบอร์โทรศัพท์สถานีตำรวจ
ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 

เบอร์โทรศัพท์ศาลในกรุงเทพฯ
และปริมณฑล

เบอร์โทรศัพท์สรรพากรพื้นที่
กรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สำนักงานเขต
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์สถานีดับเพลิง
ในกรุงเทพมหานคร

เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดอื่นๆ

 

 

 


 

 


ประเภทของสัญญา

 

 

         สัญญาคืออะไร? ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 2 ว่าด้วยสัญญา มิได้ให้คำจำกัดความของสัญญาว่าคืออะไร แต่พจนานุกรมให้คำจำกัดความไว้ว่า “สัญญาคือความตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทำการหรือละเว้นการอย่างใดอย่างหนึ่ง”
                ดังนั้น เมื่อได้ศึกษาถึงบทบัญญัติในลักษณะสัญญาโดยตลอดแล้วจึงทำให้เข้าใจได้ว่า สัญญาคือ นิติกรรมสองฝ่าย ซึ่งนิติกรรมสองฝ่ายก็คือนิติกรรมซึ่งมีผู้แสดงเจตนาฝ่ายหนึ่งและผู้รับการแสดงเจตนาอีกฝ่ายหนึ่ง หากมีเพียงผู้แสดงเจตนาแต่ฝ่ายเดียวไม่เป็นสัญญา ฉะนั้นนิติกรรมจึงไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญา แต่สัญญาจำเป็นต้องเป็นนิติกรรมเสมอไป

ประเภทของสัญญา สาระสำคัญของสัญญา 
สัญญามี 5 ประเภท คือ

1. สัญญาซึ่งมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญากับสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก 

1) สัญญาซึ่งมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา คือ สัญญาที่ทำต่อกันนั้นมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาด้วยกันเท่านั้น เช่น นายแดงทำสัญญากู้ยืมเงินจากนายดำจำนวน 100,000 บาท นั้น สัญญานี้นายดำเจ้าหนี้ผู้ให้กู้เท่านั้นมีสิทธิเรียกให้นายแดงลูกหนี้ชำระหนี้นั้น บุคคลอื่นไม่มีสิทธิเรียกให้นายแดงชำระหนี้เงินกู้ยืมนี้ได้เลย และในขณะเดียวกันนายดำก็มีสิทธิเรียกให้นายแดงคนเดียวเท่านั้นชำระหนี้ให้ตนได้ นายดำจะไปเรียกให้บุคคลอื่นชำระหนี้เงินกู้ยืมรายนี้ไม่ได้

(2) สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก คือ บุคคลอื่นผู้ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้หรือเป็นคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ทั้งๆ ที่บุคคลนั้นไม่ได้เป็นคู่สัญญาหรือเจ้าหนี้แต่อย่างใด เช่น สัญญาประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 889 เป็นต้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 38/2537 การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยมาตรา 521 นั้นจะต้องมีคูสัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรืออีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับ แต่บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลังตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง หลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 แม้ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

2. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน 

(1) สัญญาต่างตอบแทนนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกันกับนิติกรรมที่มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาซื้อขายหรือสัญญาเช่าทรัพย์เป็นต้น

(2) สัญญาไม่ต่างตอบแทน คือ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องชำระหนี้หรือกระทำการอย่างใดเป็นการตอบแทนคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นสัญญาให้โดยเสน่หาหรือสัญญาฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657,659) เป็นต้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 163/2518 เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าชำระก่อนการเช่าไม่ทำให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จะต้องให้เช่าต่อจากที่การเช่าครบอายุคำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้เช่าต่อไปนั้น เมื่อผู้ให้เช่าตายและผู้เช่าก็รู้แล้ว คำมั่นนั้นตกไปตามมาตรา 360 ไม่ผูกพันทายาทให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 569

3. สัญญามีค่าตอบแทนและไม่มีค่าตอบแทน

(1) สัญญามีค่าตอบแทน คือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้รับค่าตอบแทนต่อกันและกันในการทำสัญญานั้น เช่น สัญญาซื้อขายผู้ขายย่อมได้รับเงินราคาทรัพย์สิ่งของที่ซื้อขายจากผู้ซื้อและต้องส่งมอบทรัพย์สิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ ฝ่ายผู้ซื้อก็ได้รับทรัพย์สิ่งของจากผู้ขายและต้องชำระราคาค่าทรัพย์สินสิ่งของที่ซื้อให้ผู้ขายด้วย เป็นต้น

(2) สัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องให้ค่าตอบแทนแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด คงเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เช่นสัญญาให้โดยเสน่หาหรือยืมใช้คงรูปเป็นต้น

4. สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์ 

(1) สัญญาประธาน คือเป็นสัญญาแรกที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้แสดงเจตนาทำกันไว้ เช่น สัญญากู้ยืมเงินที่ผู้กู้ยืมคือลูกหนี้ขอกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินนี้มีผลสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประธาน ต่อมาหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ก็ฟ้องเรียกให้ชำระได้

(2) สัญญาอุปกรณ์ คือก่อนที่เจ้าหนี้จะให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินนั้นเจ้าหนี้แจ้งกับลูกหนี้ผู้กู้ยืมว่าหากลูกหนี้ผู้กู้ยืมไม่หาหลักประกันมาค้ำประกันหนี้เงินที่กู้ยืมนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินตามที่ขอกู้นั้น เมื่อลูกหนี้รู้เช่นนี้จึงได้หาหลักประกันมาค้ำประกันให้ไว้แก่เจ้าหนี้ ทั้งนี้อาจนำบุคคลมาค้ำประกันหรือนำทรัพย์สินมาจดทะเบียนจำนองค้ำประกัน หรือนำทรัพย์สินมาจำนำไว้เป็นประกันเป็นต้น ดังนั้นเมื่อได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วก็ได้นำบุคคลมาทำสัญญาค้ำประกันไว้อีก สัญญาค้ำประกันเช่นนี้เรียกว่าเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญากู้ยืมเงินที่เป็นสัญญาประธานหรือสัญญาจ้างทำของ (มาตรา 857) ซึ่งได้มีการทำมัดจำ (มาตรา 377)หรือกำหนดเบี้ยปรับ (มาตรา 379) ไว้ด้วยเช่นนี้ สัญญามัดจำหรือสัญญาเบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างทำของที่เป็นสัญญาประธานนั้น เป็นต้น

ข้อสังเกต 

สัญญาประธานและสัญญาอุปกรณ์จะพึงใช้บังคับกันได้ต่อกันเพียงใดนั้นมีบัญญัติไว้ดังนี้

1. ตามมาตรา 193/26 เมื่อสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความให้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นขาดอายุความด้วย แม้ว่าอายุความของสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นจะยังไม่ครบกำหนดก็ตาม
2. ตามมาตรา 692 อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย
3. ตามมาตรา 754 ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้แห่งสิทธิต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิให้แก่ผู้รับจำนำและทรัพย์สินนั้นก็กลายเป็นของจำนำแทนสิทธิซึ่งจำนำ ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินและถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้ ท่านว่าต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและผู้จำนำร่วมกัน ถ้าและเขาทั้งสองนั้นไม่ปรองดองตกลงกันได้ ท่านว่าแต่ละคนชอบที่จะเรียกให้วางเงินจำนวนนั้นไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ได้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
4. ตามมาตรา 769 อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป (1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่น มิใช่เพราะเหตุอายุความหรือ (2) เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคือไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ

5. สัญญาเอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ  

(1) สัญญาเอกเทศสัญญา คือสัญญาที่มีชื่อระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา เช่นซื้อขาย (มาตรา 453) แลกเปลี่ยน (มาตรา 518) ให้ (มาตรา 521) เช่าทรัพย์ (มาตรา 537 ) เช่าซื้อ (มาตรา 572) จ้างแรงงาน (มาตรา 575) จ้างทำของ (มาตรา 587) รับขน (มาตรา 608) ยืม (มาตรา 640) ฝากทรัพย์ (มาตรา 657) ค้ำประกัน (มาตรา 680) จำนอง (มาตรา 702) จำนำ (มาตรา 747) เก็บของในคลังสินค้า (มาตรา 770) ตัวแทน (มาตรา 797) นายหน้า (มาตรา 815) ประนีประนอมยอมความ (มาตรา 850) การพนันและขันต่อ (มาตรา 853) บัญชีเดินสะพัด (มาตรา 856)ประกันภัย (มาตรา 861) ตั๋วเงิน (มาตรา 898) ห้างหุ้นส่วนและบริษัท (มาตรา 1012) สมาคม (มาตรา 1274)

(2) สัญญาไม่มีชื่อ คือเป็นสัญญาซึ่งไม่มีชื่อบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เลย แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มีผลใช้บังคับกันได้ เช่น สัญญาร่วมหุ้น (เล่นแชร์เปียหวย) สัญญาให้ค่าตอบแทน สัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) เป็นต้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 1460/2495 เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างตึกมีกำหนดถึง 10 ปี แล้วผู้เช่าจะยกตึกที่ปลูกสร้างทดแทนให้เจ้าของที่ดินอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าเช่า ดังนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนกันยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด 10 ปีไม่ได้้

คำพิพากษาฎีกาที่ 595/2537  การรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นลูกหนี้ ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ และแม้จำเลยทำสัญญาไว้ต่อโจทก์ว่าจะชำระหนี้ ซึ่ง ค. เป็นหนี้โจทก์ให้โจทก์ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์เจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของ ค. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ ค. ค้างชำระให้โจทก์ จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปี


ก่อนดำเนินการตกลงทางธุรกิจหรือตกลงใดๆ การทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะข้อตกลงและความประสงค์ของคู่ความทุกฝ่ายจะถูกบันทึกไว้ เพื่อความเข้าใจของคู่สัญญา  ป้องกันการเข้าใจผิด ลดปัญหาความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจ และ การดำเนินการที่อาจเกิดมีขึ้นในอนาคตได้  ก่อนเซ็นสัญญาหรือเอกสารทุกครั้ง  ต้องมีนักกฎหมายที่มีความรู้และประสบการณ์แนะนำท่านเพื่อจะได้รู้ข้อดีและข้อเสียของสัญญาฉบับดังกล่าว  ว่าท่านลงนามไปจะเกิดผลอย่างไร  สามารถบังคับได้หรือไม่ เป็นโมฆะหรือโฆฆียะหรือไม่อย่างไร  

      

 

 

Back

 

 


 


 

มีเรื่องด่วนหลังเวลาทำการของ
สำนักงาน (008.30-17.30 น.)
กรุณาติดต่อโดยตรงที่คุณชมทรรศน์
โทร.086-5589695

 

 

 


 

 

 
             
   
Copyright 2009 © สำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตร
ที่อยู่ 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น 49 ถนนสีลม  แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
โทร.   02-116-1310 / 02-161-0155 / 086-558-9695  Fax. 0-2236-5721
E-mail:toebkk@hotmail.com



ทนายความชมทรรศน์ สมบุตร ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาคดีแพ่ง คดีอาญา ทนายที่ปรึกษาประจำ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ ทนายฟรี เครื่องหมายการค้า ทนายความฟรี จดทะเบียนพาณิชย์ คดีแพ่ง ทนาย จดทะเบียนการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ขอคืนภาษี โดนเรียกภาษีย้อนหลัง ขอภาษีคืน ขอลดค่าปรับภาษี อุทธรณ์ภาษี ปรึกษาปัญหาภาษีอากร จดทะเบียนอาหารและยา (อย.) รับขอ อย. อาหาร รับขอ อย. เครื่องสำอาง ที่ปรึกษากฎหมายอาหารและยา จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แก้ไข เปลี่ยนแปลง ย้ายที่อยู่บริษัท เพิ่มทุน ลดทุน กฎหมายที่ดิน เวนคืน จัดการมรดก ขับไล่ เร่งรัดหนี้สิน ทวงหนี้ สืบทรัพย์ บังคับคดี ร่างสัญญา รับร่างพินัยกรรมและจัดการเก็บรักษาพินัยกรรม ขออนุญาตโฆษณาอาหาร เครื่องสำอาง กฎหมายเครื่องมือแพทย์ รับขอ อย. วัตถุอันตราย ฉลากสินค้า สำนักทนายความ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ขออนุญาตจับรางวัล ขออนุญาตจับรางวัลชิงโชค จับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจับรางวัลเสี่ยงโชค ขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลเสี่ยงโชค ขอใบอนุญาตจัดรางวัลเสี่ยงโชค เครื่องหมายบริการ จดทะเบียนร้านค้าเพื่อเปิดร้านอินเตอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนอาหารเสริม ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ นำเข้าเครื่องมือแพทย์ รับจด อย.